
การศึกษาอัตลักษณ์ของชุมชนเพื่อเป็นแนวทางในการออกแบบสถาปัตยกรรมพื้นที่ลุ่มน้ำปะเหลียน จังหวัดตรัง
Author(s) -
สาทินี วัฒนกิจ,
ณัฐนีภรณ์ น้อยเสงี่ยม
Publication year - 2022
Publication title -
warasan parichat
Language(s) - Thai
Resource type - Journals
ISSN - 2651-0804
DOI - 10.55164/pactj.v35i1.249563
Subject(s) - political science
งานวิจัยฉบับนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาอัตลักษณ์ชุมชนในพื้นที่ลุ่มน้้ำปะเหลียน จังหวัดตรัง เพื่อเป็นแนวทางในการออกแบบสถาปัตยกรรมที่ส่งเสริมการท่องเที่ยวชุมชนศึกษาข้อมูลภาคเอกสาร การทบทวนวรรณกรรม การสำรวจ การสัมภาษณ์แบบมีโครงสร้าง โดยศึกษาพื้นที่ 3 อำเภอ คือ อำเภอกันตัง อำเภอย่านตาขาวและอำเภอปะเหลียน จังหวัดตรัง ผลที่ได้สู่การนำเสนอแนวทางการออกแบบสถาปัตยกรรมที่สอดคล้องกับอัตลักษณ์ชุมชน เพื่อส่งเสริมการท่องเที่ยว ผลการวิจัยสรุปได้ว่า ชุมชนลุ่มน้ำปะเหลียน จังหวัดตรัง มีความโดดเด่นด้านภูมิศาสตร์ โดยเฉพาะ ฐานทรัพยากรธรรมชาติ ป่าจาก และป่าโกงกาง ซึ่งมีความอุดมสมบูรณ์เป็นอันดับ 4 ของประเทศไทย วิถีชีวิต วัฒนธรรมของชุมชน ซึ่งเป็นวัฒนธรรมแบบผสมผสานระหว่างไทยพุทธไทยมุสลิม และจีน รายได้และเศรษฐกิจในชุมชนเกิดจากการประกอบอาชีพการเก็บหอยปะ และผลิตสินค้าจากวัสดุเหลือใช้ (จาก) การพึ่งพิงระหว่างชุมชนและฐานทรัพยากรธรรมชาติที่มีอยู่ก่อให้เกิดรูปแบบสภาพแวดล้อมและรูปแบบสถาปัตยกรรมที่เอื้อต่อวิถีชีวิต การเสนอแนะแนวทางการออกแบบสถาปัตยกรรมนั้น จึงให้ความสำคัญกับวิถีชีวิต วัฒนธรรมประเพณีของคนในชุมชน ภายใต้แนวคิด 1) ฐานทรัพยากรธรรมชาติในชุมชน ซึ่งเป็นลักษณะเฉพาะของพื้นที่ สู่แนวคิดหลักในการออกแบบที่สอดคล้องกับริบทของพื้นที่ 2) วิถีชีวิต วัฒนธรรมของคนในชุมชน ที่เกิดจากฐานทรัพยากรชุมชน และ 3) อัตลักษณ์ของชุมชน ได้แก่ วัสดุ สี ลวดลายที่เกิดจากทรัพยากรในชุมชน ได้แก่ จาก