z-logo
open-access-imgOpen Access
ชนิดอาหารที่บริโภคและค่าน้ำตาลสะสมในเลือดของผู้ป่วยเบาหวานชนิดที่ 2 จังหวัดนครศรีธรรมราช
Author(s) -
จันทนา คันธิก,
นัยนา หนูนิล,
เรวดี เพชรศิราสัณห์
Publication year - 2022
Publication title -
health science journal of thailand
Language(s) - Thai
Resource type - Journals
ISSN - 2773-8817
DOI - 10.55164/hsjt.v4i1.254778
Subject(s) - value (mathematics) , mathematics , medicine , statistics
การศึกษาเชิงพรรณนานี้ เพื่อศึกษาเปรียบเทียบลักษณะส่วนบุคคลและการบริโภคอาหารของผู้ป่วยเบาหวานชนิดที่ 2 ที่มีค่า A1C <7% และ ค่า A1C ³7% ในจังหวัดนครศรีธรรมราช กลุ่มตัวอย่าง 346 คน จาก 3 โรงพยาบาลชุมชนที่มีผู้ป่วยโรคเบาหวานสูงสุดของจังหวัด และสุ่มอย่างง่าย ผู้ป่วยเบาหวานที่มารับบริการที่คลินิกเบาหวานของโรงพยาบาลชุมชน เครื่องมือที่ใช้ คือ แบบสอบถามลักษณะส่วนบุคคล และ แบบสอบถามความถี่การบริโภคอาหาร และตรวจวัดค่าน้ำตาลสะสมในเลือด วิเคราะห์ข้อมูลด้วยสถิติเชิงพรรณนา Chi-square และ Mann-Whitney U test ผลการศึกษา ผู้ป่วยส่วนใหญ่เป็น เพศหญิง ร้อยละ 76.60 อายุเฉลี่ย 60.41 ปี (S.D. = 11.00) ผู้ป่วยที่มีค่า A1C <7% ร้อยละ 33.80 โดยผู้ป่วยทั้งสองกลุ่มมีความแตกต่างด้านการประกอบอาชีพ ดัชนีมวลกาย เส้นรอบเอว และพฤติกรรมเนือยนิ่ง อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p-value < 0.050) อาหารที่บริโภคเป็นประจำ ได้แก่ ข้าว ขนมจีน ก๋วยเตี๋ยว กาแฟสำเร็จรูปและนมถั่วเหลือง เนื้อปลาและหมู และนำผักมาปรุงเป็นแกงเลียงหรือรับประทานกับน้ำพริก ชนิดอาหารที่สองกลุ่มบริโภคแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p-value < 0.050) คือ แกงหมู น้ำมัน/กากหมู และถั่วต้ม ข้อเสนอแนะ ผู้ป่วยเบาหวาน ควรควบคุมการบริโภคอาหาร โดยลดอาหารกลุ่มแป้ง กาแฟสำเร็จรูป และเพิ่มอาหารที่มีกากใย

The content you want is available to Zendy users.

Already have an account? Click here to sign in.
Having issues? You can contact us here