
การดูแลผู้ป่วยที่เข้ารับการตรวจปัสสาวะพลศาสตร์ ชนิดมีการถ่ายภาพรังสีร่วมด้วย
Author(s) -
วิมล แซ่ก๊วย,
ศุภวิช เหลืองภัทรวงศ์,
สุกรี เส็มหมาด
Publication year - 2022
Publication title -
wet banthuek siriraj
Language(s) - Uncategorized
Resource type - Journals
ISSN - 2697-4436
DOI - 10.33192/smb.v15i1.254358
Subject(s) - environmental science , medicine
ไต ท่อไต กระเพาะปัสสาวะ และท่อปัสสาวะ เป็นองค์ประกอบของระบบขับถ่ายปัสสาวะซึ่งใช้ในการขับของเสียหรือสารพิษออกจากร่ายกาย ควบคุมความดันเลือดและปริมาณเลือดในร่างกาย ควบคุมอิเล็กโทรไลต์และเมแทบอไลต์ รวมทั้งควบคุมความเป็นกรดเบสของเลือด หากเกิดความผิดปกติในการควบคุมการขับถ่ายปัสสาวะจะส่งผลกระทบต่อการดำรงชีวิตประจำวัน และอาจเป็นสาเหตุสำคัญของการเสียชีวิต การตรวจปัสสาวะพลศาสตร์ ชนิดมีการถ่ายภาพรังสีร่วมด้วย (Videourodynamic Study; VUDS) เป็นวิธีการตรวจมาตรฐานในการประเมินการทำงานของระบบทางเดินปัสสาวะส่วนล่าง โดยตรวจการทำงานของกระเพาะปัสสาวะร่วมกับการถ่ายรังสีทัศน์ (Fluoroscopy) ซึ่งทำให้ทราบถึงกายวิภาคของกระเพาะปัสสาวะและท่อปัสสาวะไปพร้อมกับระบบการทำงาน ทำให้แพทย์สามารถประเมินหาสาเหตุของปัญหา วินิจฉัยความผิดปกติของร่างกาย รวมทั้งติดตามผลการรักษาได้อย่างมีประสิทธิผลมากยิ่งขึ้น บทความนี้มุ่งเน้นให้พยาบาลในฐานะผู้ที่มีความใกล้ชิดกับผู้ป่วยมากที่สุด มีความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับองค์ประกอบ ขั้นตอนการตรวจปัสสาวะพลศาสตร์ ชนิดมีการถ่ายภาพรังสีร่วมด้วย (Videourodynamic Study; VUDS) สามารถดูแลผู้ป่วยได้ครอบคลุมทั้งทางร่างกาย จิตใจ ตั้งแต่ระยะก่อนเข้ารับการตรวจ ระยะตรวจ จนกระทั่งระยะหลังการตรวจ เพื่อให้ความรู้ คำแนะนำแก่ผู้ป่วย และญาติ เพื่อนำไปสู่ความร่วมมือในการตรวจ การรักษาที่มีประสิทธิผล กอปรกับสามารถป้องกันภาวะแทรกซ้อนจากการตรวจได้