z-logo
open-access-imgOpen Access
ยาสมุนไพรรักษาอัมพฤกษ์อัมพาตในตำราการแพทย์ไทยเดิม (แพทยศาสตร์สงเคราะห์ ฉบับอนุรักษ์) เล่มที่ 1 : การวิเคราะห์ทางเภสัชกรรมไทยและหลักฐานเชิงประจักษ์
Author(s) -
Suksalin ฺBooranasubkajorn,
Nunthawan Prathumsuwan,
Pornnatcha Henggrathock,
Kamontip Harnphadungkit,
Pravit Akarasereet,
Kangvol Khatshima
Publication year - 2021
Publication title -
wet banthuek siriraj
Language(s) - Thai
Resource type - Journals
ISSN - 2697-4436
DOI - 10.33192/smb.v14i4.251382
Subject(s) - political science
วัตถุประสงค์: เพื่อศึกษาสมุนไพรและตำรับยาที่มีสรรพคุณรักษาอัมพฤกษ์อัมพาตในตำราการแพทย์แผนไทยเดิม (แพทยศาสตร์สงเคราะห์ ฉบับอนุรักษ์) เล่มที่ 1, วิเคราะห์รสยาของยาสมุนไพรเดี่ยวและสมุนไพรในตำรับยา และรวบรวมหลักฐานเชิงประจักษ์ของสมุนไพรที่มีสรรพคุณรักษาอัมพฤกษ์อัมพาต วิธีการศึกษา: เป็นงานวิจัยเชิงคุณภาพ ทบทวนและบันทึกรายการสมุนไพรและตำรับยาที่มีการรักษาอัมพฤกษ์อัมพาตในตำราการแพทย์ไทยเดิม ตรวจสอบความถูกต้องของชื่อเครื่องยาสมุนไพรและรสยาโดยผู้เชี่ยวชาญ จากนั้นทำการสืบค้นหลักฐานเชิงประจักษ์ของเครื่องยาในฐานข้อมูล PubMed  และ Google scholar ผลการศึกษา: จาก 13 คัมภีร์ พบว่า มี 8 คัมภีร์ที่บันทึกการรักษาอัมพฤกษ์อัมพาต โดยคัมภีร์สรรพคุณยาและคัมภีร์ธาตุวิภังค์ มีจำนวนตำรับยามากที่สุด คือ 5 ตำรับ และรองลงมาคือ คัมภีร์โรคนิทานมี 4 ตำรับ เป็นการใช้สมุนไพรเดี่ยว 8 ชนิด และเป็นตำรับยา 22 ตำรับ โดยมีการใช้สมุนไพรทั้งสิ้น 142 ชนิด สมุนไพรที่ใช้ในตำรับยา 4 ตำรับขึ้นไป มี 22 ชนิด โดย พริกไทยล่อน ใช้มากที่สุด รสยาที่พบการใช้เรียงจากมากไปน้อยคือ รสเผ็ดร้อน ร้อยละ 26.32 รสเค็ม ร้อยละ 14.47 และรสขม ร้อยละ 13.16 และมีสมุนไพร 19 ชนิด ที่มีหลักฐานงานวิจัยเกี่ยวกับการรักษาโรคอัมพฤกษ์อัมพาต เช่น ช่วยต้านเกล็ดเลือด ป้องกันเซลล์ประสาทถูกทำลาย สรุป: อัมพฤกษ์อัมพาตมีการกล่าวถึงในหลายคัมภีร์ โดยการรักษานิยมใช้ยาตำรับมากกว่าสมุนไพรเดี่ยว แต่จำนวนหลักฐานเชิงประจักษ์เกี่ยวกับสมุนไพรที่ใช้ยังมีน้อย แสดงว่าการพัฒนายาไทยที่ใช้รักษาอัมพฤกษ์อัมพาตยังต้องการการวิจัยอีกมากเพื่อให้เกิดการใช้อย่างสมเหตุสมผล

The content you want is available to Zendy users.

Already have an account? Click here to sign in.
Having issues? You can contact us here