
การศึกษาผลของกระบวนการเตรียมความพร้อมเพื่อรับการรักษาและการติดตามเพื่อให้กำลังใจในผู้ป่วยมะเร็งกลุ่มศีรษะและลำคอที่หน่วยตรวจทูเมอร์คลินิกที่มีแผนการรักษาหลัก โรงพยาบาลศิริราช
Author(s) -
Tippawan Gerdsuriwong,
Banjarat Janfag,
Pornchai O-charoenrat,
Paiboon Sureepong,
Peerasak Chortrakarnkij,
Thanit Hirankhup,
Kanokporn Thamapala
Publication year - 2021
Publication title -
wet banthuek siriraj
Language(s) - Thai
Resource type - Journals
ISSN - 2697-4436
DOI - 10.33192/smb.v14i3.241691
Subject(s) - mcnemar's test , test (biology) , mathematics , statistics , geology , paleontology
วัตถุประสงค์: เพื่อศึกษาประสิทธิผลของกระบวนการเตรียมความพร้อมเพื่อรับการรักษาและการติดตามเพื่อให้กำลังใจในผู้ป่วยมะเร็งกลุ่มศีรษะและลำคอที่หน่วยตรวจทูเมอร์คลินิกที่มีแผนการรักษาหลัก เพื่อหาสาเหตุที่ไม่ไปรับการรักษา และประเมินความเครียดของผู้ป่วยก่อนและหลังเข้ารับการตรวจ
วิธีการศึกษา: ศึกษาผู้ป่วยมะเร็งกลุ่มศีรษะและลำคอ อายุ 18 - 75 ปี ที่หน่วยตรวจทูเมอร์คลินิกซึ่งมีแผนการรักษาหลัก จำนวน 120 ราย เทียบกับกลุ่มควบคุม คือ ข้อมูลผู้ป่วยมะเร็งกลุ่มดังกล่าวจากฐานข้อมูลสถิติทูเมอร์คลินิก ปี 2557 จำนวน 120 ราย เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ กระบวนการเตรียมความพร้อมเพื่อรับการรักษาและการติดตามเพื่อให้กำลังใจ เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูล ได้แก่ แบบบันทึกข้อมูลและติดตามผู้ป่วย แบบประเมินความเครียด และแบบประเมินการเห็นคุณค่าในตนเองของโรเซ็นเบิร์ก (Rosenberg Self-Esteem Scale) สถิติที่ใช้ คือ t-test, Chi-square test และ McNemar’s test
ผลการศึกษา: ผู้ป่วยกลุ่มศึกษาไปรับการรักษาตามแผนการรักษา 109 ราย คิดเป็นร้อยละ 90.8 และไม่ไปรับการรักษา 11 ราย คิดเป็นร้อยละ 9.2 ผู้ป่วยกลุ่มควบคุมไปรับการรักษาตามแผน 102 ราย คิดเป็นร้อยละ 85 และไม่ไปรับการรักษา 18 ราย คิดเป็นร้อยละ 15 เมื่อเปรียบเทียบกันพบว่า จำนวนผู้ป่วยไปรับการรักษาตามแผนแตกต่างกันอย่างไม่มีนัยสำคัญทางสถิติ สาเหตุที่ผู้ป่วยไม่ไปรับการรักษาส่วนใหญ่กลัวการรักษา ร้อยละ 46 รองลงมา ได้แก่ สภาพร่างกายไม่แข็งแรง ไปใช้บริการแพทย์ทางเลือก มีปัญหาเรื่องค่าใช้จ่าย และไม่มีผู้ดูแลระหว่างเข้ารับการรักษา ร้อยละ 20, 20, 7 และ 7 ตามลำดับ เมื่อเปรียบเทียบความเครียดก่อนและหลังเข้ารับการตรวจแตกต่างกันอย่างไม่มีนัยสำคัญทางสถิติ และการเห็นคุณค่าในตนเองก่อนและหลังเข้ารับการตรวจในผู้ป่วยกลุ่มศึกษาไม่แตกต่างกัน
สรุป: กระบวนการเตรียมความพร้อมเพื่อรับการรักษาและการติดตามเพื่อให้กำลังใจ มีผลทำให้จำนวนผู้ป่วยไปเข้ารับการรักษาตามแผนแตกต่างกันอย่างไม่มีนัยสำคัญทางสถิติ อย่างไรก็ดีการจัดทำให้มีระบบการติดตามดูแลผู้ป่วยได้ครอบคลุม ส่งผลให้ผู้ป่วยได้รับการดูแลเพื่อคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้น ดังนั้นจึงควรมีการติดตามเยี่ยมเป็นระยะเพื่อทราบและช่วยแก้ไขปัญหาให้ผู้ป่วย ซึ่งจะส่งผลให้ผู้ป่วยได้รับการรักษาตามแผนที่วางไว้